เรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
จำได้ว่าเมื่อครั้งตอนที่เป็นนักเรียนนั้นดิฉันเป็นเด็กที่มีความคิดเหมือนกับเด็กโดยทั่วไปคือ ไม่ชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ มีความรู้สึกว่าทำไมวิชาคณิตศาสตร์มันยากจังเลย เนื้อหาก็เยอะและดูยุ่งยากไปหมด เวลาเรียนก็ง่วงนอน ส่งผลให้ตอนนั้นดิฉันไม่เคยได้เกรด 4 วิชาคณิตศาสตร์เลย ที่สำคัญ
ไปกว่านั้นทำให้ตัวดิฉันเองไม่ค่อยมีความรู้พื้นฐานสักเท่าไร ก็ยังงงๆอยู่ว่าตนเองนี้มาเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ ได้อย่างไร และก็ต้องมาสอนนักเรียนที่ส่วนใหญ่
มีความรู้สึกต่อวิชาคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างจากตนเองเมื่อครั้งยังเป็นนักเรียน
ดิฉันใช้เวลา 4 ปีในการเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ และอีก 1 ปีเกี่ยวกับวิชาการสอน4 ปีที่เรียนคณิตศาสตร์นั้นดิฉันมีความรัก และภาคภูมิใจในความเป็นคณิตศาสตร์มาก ก็ไม่รู้ว่าความรู้สึกนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไรทั้งๆ ที่ตอนเป็นนักเรียนนั้นไม่เคยชอบวิชาคณิตศาสตร์เลย ดิฉันรู้สึกมีความสุขและสนุก
ที่ค่อยๆ ได้เรียนรู้ในคณิตศาสตร์ ถึงแม้บางครั้งจะรู้สึกว่ามันยากมาก และสิ่งที่เรียนมานั้นบางเนื้อแทบจะไม่ได้นำมาใช้เลย สิ่งสำคัญที่ดิฉันรู้ว่าได้รับ
จากการเรียนรู้คณิตศาสตร์มา 4 ปีเต็มและแทรกซึมเข้ามาอยู่ในตัวของดิฉันโดยไม่รู้ตัวนั้น ก็คือความเป็นเหตุและผล การพิสูจน์ทฤษฎีบทต่างๆ ทำให้เรารู้ว่าเหตุผลของการได้มาของแต่ละบรรทัดในการพิสูจน์นั้นคืออะไร จึงทำให้เราเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ไม่รู้สึกขัดแย้ง ส่งผลให้เรากลายเป็นคนมีเหตุมีผล สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยความสุข เพราะเหตุผลจะทำให้เรามองคนอื่นได้อย่างเข้าใจและที่สำคัญที่สุดก็คือทำให้เราแก้ปัญหาที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้
อย่างมีเหตุผล
ดังนั้นเวลาที่ดิฉันสอนนักเรียนนั้น จึงพยามตั้งคำถามเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่สามารถให้นักเรียนแสดงเหตุผลได้ ไม่ได้สอนเพียงเพื่อให้นักเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาหรือคำตอบของปัญหาเพียงอย่างเดียว เช่น แทนที่เราจะถามนักเรียนว่า “ สมการทั่วไปของวงกลมคืออะไร?” แต่เราควรจะถามว่า “เพราะอะไรสมการ
วงกลมจึงเป็นแบบนั้น?” หรือถามว่า “ทำไมคณิตศาสตร์จึงไม่ใช้ตัวหารเป็น 0 ?” แทนคำถามว่า “ถ้าตัวหารเป็น 0 คำตอบคืออะไร?” มันจะทำให้
นักเรียนได้คิดและพยายามหาเหตุผลจากความรู้ที่มีมาอธิบาย จนทำให้นักเรียนเรียนรู้คณิตศาสตร์ด้วยความเข้าใจ ส่งผลให้ตัวนักเรียนเองเป็นคนที่มีเหตุผลโดยไม่รู้ตัว และบางทีอาจจะทำให้จำนวนนักเรียนที่ไม่ชอบเรียนคณิตศาสตร์และรู้สึกว่ามันยากลดน้อยลงได้บ้าง เพราะถ้านักเรียนใช้เหตุผลในการเรียนรู้ ก็จะเรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ไม่ขัดแย้ง คณิตศาสตร์ก็จะดูง่ายขึ้น ดังนั้นเวลาเราสอนนักเรียนเราน่าจะมาเปลี่ยนคำถามว่า “ปัญหานี้มีคำตอบเป็นเท่าไร?” แต่ควรจะมาถามว่า “ เพราะอะไรคำตอบจึงเป็นคำตอบนี้?”
ผู้เขียน นางสาวสายฝน หงษ์อุดร วท.ม. ค.ศ 4
Blue Titanium Art - TITNIA Arts & Culture
ตอบลบTITNIA Arts & Culture is TINIA in Austin, Texas. We're creating the titanium belt buckle most engaging how strong is titanium experience in black titanium wedding bands the art world and ford fusion titanium 2019 design in ford escape titanium 2021